วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การเดินทาง


    

อาหาร

1.แจ่วฮ้อนรัตติยา มุกดาหาร





2. นัดพบริมโขง มุกดาหาร



3.คู่แฝด แหนมเนือง มุกดาหาร



4กู้ดมุก มุกดาหาร



สถานที่ท่องเที่ยว







อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ


เดิมชื่อ อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่
59 ของประเทศไทยมีเนื้อที่ 48.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 30,312.5 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองมุกดาหารและอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ห่างจากตัวเมืองประมาณ 17 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางมุกดาหาร-ดอนตาล(ทางหลวงหมายเลข 2034) แยกเข้าทางขวามืออีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานฯ หรือ นั่งรถจากกรุงเทพฯไปลงที่สถานีขนส่งมุกดาหาร และต่อรถสองแถว (สีเหลือง) ค่าโดยสารประมาณ 5 บาทไปลงที่ตลาดพรเพชร แล้วต่อรถสองแถวสายมุกดาหาร – ดอนตาล ค่าโดยสารประมาณ 10 บาท ลงที่ปากทางเข้าอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบหรือบอกให้คนขับรถเข้าไปส่งที่อุทยานฯก็ได้ ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทรายประกอบด้วยเทือกเขาน้อยใหญ่หลายลูกติดต่อกัน แบบลูกคลื่นและเป็นส่วนปลายสุดของเทือกเขาภูพาน เทือกเขาเหล่านี้วางตัวในลักษณะแนวเหนือ-ใต้ขนานและห่างจากชายฝั่งแม่น้ำโขงประมาณ 4 กิโลเมตร ภายในอุทยานฯประกอบด้วยภูหมากยาง ภูมโน ภูโปร่ง ภูรัง ภูจอมนาง ภูหมากมี่ ภูผาเทิบ ภูนางหงส์ ภูถ้ำพระ ภูหลักเสและยอดเขาสูงสุดคือ ยอดภูจอมศรี มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 170-420 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เต็งรัง และป่าเบญจพรรณ และยังเป็นแหล่งกำเนิดของลำห้วยหลายสาย เช่น ห้วยตาเหลือก ห้วยสิงห์ ห้วยเรือ ห้วยมะเล ห้วยช้างชน เป็นต้น แถบบริเวณเชิงเขาเป็นป่าไผ่ขึ้นสลับเป็นแนว หลายบริเวณเป็นหน้าผาสูงและลานหินกว้าง มีหินรูปร่างแปลกๆ มากมาย







หอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก                            

พระเจ้าอยู่ห้ว ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี หอแก้วมุกดาหารมีลักษณะเป็นหอคอยรูปทรงกระบอก มีความสูง 65.50 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางตัวแกนหอคอย 6 เมตร ส่วนฐานมีลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น ทรงเก้าเหลี่ยมแทนความหมายถึงรัชกาลที่ 9 มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 เมตร มีทางเข้าออก 3 ทาง ชั้น 1 จัดแสดงเครื่องมือเครือ่งใช้ในการดำรงชีวิตของชาวมุกดาหาร ชั้น 2 เป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติเมืองมุกดาหาร วัตถุโบราณ ภาพถ่ายเก่า ตลอดจนเครื่องแต่งกายชาวไทยพื้นเมืองมุกดาหาร 8 เผ่า ส่วนแกนหอคอยเริ่มตั้งแต่ชั้น 3 ถึงชั้น 6 สูง 50 เมตร ส่วนหอชมวิวและโดม สูง 15 เมตร บนยอดสูงสุดเป็นที่ตั้งของ "ลูกแก้วมุกดาหาร" มีลักษณะกลมสีขาวหมอกมัว ทำจากประเทศเยอรมนี มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เมตร การขึ้นไปชมจะมีลิฟต์และบันไดเวียนอำนวยความสะดวก โดยมีชั้นสำหรับชมนิทรรศการและทัศนียภาพรอบด้านในระดับต่างๆรวม 4 ระดับ คือ ชั้นที่ 1,2,6และ7 บนชั้นที่ 6 มีกล้องส่องทางไกลไว้รอบด้านเพื่อชมทิวทัศน์ในระยะไกล นอกจากจะเห็นเมืองมุกดาหารในมุมสูงแล้ว ยังสามารถมองเห็นเมืองคันทะบุลี แขวงสะหวันนะเขด ที่อยู่อีกฝั่งของแม่น้ำโขงได้อย่างชัดเจน หอแก้วมุกดาหารเปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น.ค่าข้าชมคนละ 20 บาท






สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 ตั้งอยู่ที่บ้านสงเปือย ตำบลบางไทรใหญ่ ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศเหนือ 7 กิโลเมตร โดยข้ามไปลงที่ บ้านนาแก เมืองคันทะบูลี ซึ่งอยู่ห่างจากตัวแขวงสะหวันนะเขตไปทางทิศเหนือประมาณ 5 กิโลเมตร เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2549 โดยรูปแบบสะพานเป็นสะพานคอนกรีต 2 ช่องจราจร ผิวจราจรกว้าง 8 เมตร ไหล่ทางข้างละ 1.5 เมตร ความยาวสะพานทั้งสิ้น 2,702 เมตร

สะพานมิตรภาพฯ แห่งที่ 2 นี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเส้นทางขนส่ง เชื่อมโยงจากตะวันออกคือเมืองดานัง (เวียดนาม) ข้ามแม่น้ำโขงที่แขวงสะหวันนะเขต ต่อมายังมุกดาหาร และผ่านไปยังตะวันตกที่ชายแดนไทย-พม่า ที่อำเภอแม่สอด และเมืองเมียวดี และไปสิ้นสุดที่ เมืองมะละแหม่งของพม่า

ในการเดินทางข้ามสะพานฯ จะต้องใช้บริการรถโดยสารประจำทางระหว่างประเทศเท่านั้น โดยค่าโดยสารท่านละ 45 บาท โดยฝั่งไทยจะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมเหยียบแผ่นดิน ส่วน สปป.ลาว มีการจัดเก็บดังนี้ หนังสือเดินทาง (Passport) วันธรรมดา 20 บาท วันหยุด 40 บาท หนังสือผ่านแดน (Borderpass และ Temporary Borderpass) วันธรรมดา 50 บาท วันหยุด 100 บาท โดยมีจุดจอดรถโดยสารบริเวณเชิงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2

การเดินทางข้ามไปเที่ยวที่แขวงสะหวันนะเขต มีรายละเอียดการข้ามสะพานฯ ดังนี้

สำหรับบุคคล
1. หนังสือเดินทาง (Passport) ที่ยังไม่หมดอายุสำหรับประชาชนคนไทย ประชาคนลาว และประชาชนประเทศที่ 3   บุคคลที่มีสัญชาติไทย ติดต่อทำได้ที่สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดขอนแก่น หรือ

2. หนังสือผ่านแดนชั่วคราว (Temporaty Borderpass) ชนิดแผ่นใช้ครั้งเดียว (ไป-กลับ) มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดใดก็ได้ เดินทางได้ 3 วัน 2 คืน สามารถดำเนินการได้ที่ อาคารท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จ.มุกดาหาร(ด่านท่าเรือ), ที่ทำการบริษัทขนส่ง จำกัด ภายในอาคารสถานีผู้โดยสาร จ.มุกดาหาร เชิงสะพานมิตรภาพฯ แห่งที่ 2  มุกดาหาร-สะหวันนะเขต และศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร
     เอกสารหลักฐานประกอบคำขอประกอบด้วย สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ จำนวน 2 รูป ค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือผ่านแดนชั่วคราวจำนวน 30 บาท หรือ

3. หรือหนังสือผ่านแดน (Borderpass) ชนิดเล่ม ต้องมีภูมิลำเนาในเขตจังหวัดมุกดาหารเท่านั้น ใช้ได้ 1 ปี ซึ่งสามารถดำเนินการได้ที่ ที่ทำการปกครองจังหวัดมุกดาหาร ใกล้ท่าเรือเทศบาล และอาคารอ่านควบคุมขาออกสะพานฯ
     หลักฐานประกอบคำขอประกอบด้วย รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ จำนวน 2 รูป ค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือผ่านแดนจำนวน 200 บาท ผู้ติดตามที่เป้นเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ต้องได้รับการยินยอมจากบิดา-มารดา ก่อนจึงจะได้รับอนุญาต


วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ประวัติจังหวัดมุกดาหาร

     ประวัติจังหวัดมุกดาหาร


เจ้าจันทรสุริยวงษ์และพรรคพวกได้ตั้งอยู่ที่บ้านหลวงโพนสิม ใกล้พระธาตุอิงฮังทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (ดินแดนลาว) ต่อมาอีกหลายสิบปี จนได้ถึงแก่กรรม เจ้าจันทกินรี ผู้เป็นบุตร ได้เป็นหัวหน้าปกครองต่อมา จนถึง พ.ศ. 2310 ได้มีนายพรานคนหนึ่งข้ามโขงมาทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงปากห้วยบังมุก ได้พบเมืองร้าง วัดร้างและพบต้นตาล 7 ยอดอยู่ริมฝั่งโขง เห็นว่าเป็นทำเลที่อุดมสมบูรณ์กว่าดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง อีกทั้งในแม่น้ำโขงตรงปากห้วยบังมุกมีปลาชุมชุมอีกด้วย จึงกลับไปรายงานให้เจ้าจันทกินรีหัวหน้าทราบ เจ้าจันทกินรีได้พาพรรคพวกข้ามโขงมาดูก็เห็นว่าคงเป็นที่ตั้งเมืองโบราณมาก่อน และเป็นทำเลที่อุดมสมบูรณ์กว่าทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง จึงได้พากันอพยพจากบ้านหลวงโพนสิมมาตั้งบ้านเรือนอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงปากห้วยบังมุก
 
          เมื่อเริ่มถากถางหักร้างพงเพื่อตั้งเมืองขึ้นใหม่ ได้พบพระพุทธรูป 2 องค์อยู่ใต้ต้นโพธิ์ริมฝั่งโขง พระพุทธรูปองค์ใหญ่เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ส่วนพระพุทธรูปองค์เล็กเป็นพระพุทธรูปโลหะหล่อด้วยเหล็กเนื้อดี จึงได้พร้อมกันสร้างวัดขึ้นใหม่ในบริเวณวัดร้างริมฝั่งโขง และขนานนามวัดที่สร้างขึ้นใหม่นี้ว่า วัดศรีมุงคุณ(ศรีมงคล) และได้ก่อสร้างกุฏิวิหารขึ้น ในบริเวณวัดพร้อมกับได้อัญเชิญพระพุทธรูปทั้งสององค์ที่อยู่ใต้ต้นโพธิ์ริมฝั่งโขงขึ้นไปประดิษฐาน บนพระวิหารของวัด ต่อมาปรากฎว่าพระพุทธรูปโลหะ (องค์เล็ก) เกิดปาฎิหาริย์กลับลงไปประดิษฐานอยู่ใต้ต้นโพธิ์ที่ตั้งเดิมอีกถึง 3-4 ครั้ง ในที่สุดพระพุทธรูปองค์เล็กนั้นก็ค่อยๆ จมหายลงไปใต้ดิน คงเห็นแต่ยอดพระเกศโผล่ขึ้นมาให้เห็นอยู่ใต้ต้นโพธิ์ริมฝั่งโขง จึงได้พร้อมกันสร้างแท่นสักการะบูชาครอบไว้ในบริเวณนั้น และขนานนามพระพุทธรูปองค์นั้นว่า พระหลุบเหล็ก ปัจจุบันบริเวณที่พระหลุบเหล็กจมดินได้ถูกกระแสน้ำเซาะตลิ่งโขงพังลงไปหมดแล้ว (คงเหลือแต่แท่นสักการะบูชาที่ยกเข้ามาเก็บรักษาไว้หน้าพระวิหารของวัดศรีมงคลใต้ในปัจจุบัน)
 
          ส่วนพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ก่ออิฐถือปูนและได้อัญเชิญขึ้นไปประดิษฐานอยู่บนพระวิหารของวัดศรีมุงคุณ ชาวเมืองได้ขนานนามว่า "พระเจ้าองค์หลวง" เป็นพระประธานของวัดศรีมุงคุณ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนนามเป็น วัดศรีมงคลใต้ ตลอดมาจนถึงปัจจุบันเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองตลอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
 
          เมื่อครั้งตั้งเมืองขึ้นใหม่ในเวลากลางคืน ได้มีผู้พบเห็นแก้วดวงหนึ่งสีสดใสเปล่งแปลงเป็นประกายแวววาวเสด็จ(ลอย) ออกจากต้นตาล 7 ยอดริมฝั่งโขง ล่องลอยไปตามลำน้ำโขงแทบทุกคืน จวบจนใกล้รุ่งสว่างแก้วดวงนั้นจึงเสด็จ(ลอย) กลับมาที่ต้นตาล 7 ยอด เจ้าจันทกินรีจึงได้ขนานนามแก้วศุภนิมิตดวงนี้ว่า แก้วมุกดาหาร เพราะตั้งเมืองขึ้นริมฝั่งโขงตรงปากห้วยบังมุกอีกทั้งได้มีผู้พบเห็นไข่มุก อยู่ในหอยกาบ(หอยกี้) ในลำน้ำโขงอีกด้วย เจ้าจันทกินรีจึงให้ขนานนามเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ว่า เมืองมุกดาหาร ตั้งแต่เดือน 4 ปีกุน จุลศักราช 1132(พ.ศ.2313) อาณาเขตเมืองมุกดาหารครอบคลุมทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงจนจรดแดนญวน (รวมเขตของแขวงสุวรรณเขตของดินแดนลาวด้วย)
 
          ครั้นถึงสมัยกรุงธนบุรีเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราช ได้แผ่แสนยานุภาพขึ้นมาถึงแถบลุ่มแม่น้ำโขง จนถึง พ.ศ. 2321 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกฯ และเจ้าพระายาจักรียกกองทัพขึ้นมาตามลำน้ำโขง เพื่อปราบปรามและรวบรวมหัวเมืองใหญ่น้อยในสองฝั่งแม่น้ำโขงให้รวมอยู่ในข้าขอบขัณฑสีมาของกรุงธนบุรี และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ เจ้าจันทกินรี เป็น พระยาจันทรศรีสุราชอุปราชามันธาตุราช เจ้าเมืองมุกดาหารคนแรกและได้พระราชทานนามเมืองว่า เมืองมุกดาหาร




ภายในมีปราสาทชื่อ สองนางสถิตย์ ภายในปราสาทองค์กลางมีแก้วมุกดาหารอยู่บนพาน ใต้พานมีผ้าทิพย์รองรับ หน้าผ้าทิพย์มีอักษรไขว้ชื่อย่อจังหวัด ในปราสาทองค์ริมทั้งสองข้าง มีบายศรียนตะลุ่มอันเป็นเครื่องบูชาของชาวอีสาน เบื้องหลังมีพระธาตุพนมซึ่งจังหวัดมุกดาหารแยกมา และเคยอยู่ในอาณาจักรโคตรบูรณ์เดียวกัน มีแนวแม่น้ำโขงอยู่ด้านหลัง ด้านตะวันออก พระอาทิตย์กำลังทอแสงหลังหมู่ก้อนเมฆ 2525 เป็นปีที่ตั้งจังหวัดมุกดาหาร
 
                                           ดอกไม้ประจำจังหวัดมุกดาหาร : ดอกช้างน้าว